วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

พันธุ์ปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยง : ปลาทอง

ปลาทอง

   การเลี้ยงปลาทอง สำหรับในประเทศไทยมีตั้งแต่ปีพศ.2234 - 2235 ต่อมามีการคิดค้นปรับปรุงพันธุ์ขึ้น จึงได้มีรูปร่างลักษณะต่างๆกัน ทำให้เกิดความสวยงามที่แปลกและแตกต่างกันไป


ปลาทองฮอลันดา

ภาพนี้ คือ ปลาทอง พันธุ์ฮอลันดา
  (จากเว็บ http://pet.kapook.com/view21690.html)


ลักษณะของปลาทอง

   ลักษณะ ลำตัวกลมป้อม มีสีแตกต่างกันตามสายพันธุ์ มีครีบอก ครีบหู ครีบก้น และครีบหาง
โดยทั่วไปปลาทองจะอาศัยอยู่ในน้ำจืด แต่มีผู้พบว่าปลาทองสามารถที่จะอาศัยอยู่ในน้ำกร่อยได้ นอกจากนี้ปลาทองยังจัดว่า เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว กินอาหารจุ กินได้ทั้งพืชและสัตว์ อาหารที่ปลาทองชอบนั้น คือ ลูกน้ำ 




ภาพนี้ คือ ปลาทอง พันธุ์เกล็ดแก้ว


พันธุ์ปลาทอง

- พันธุ์สามัญ มีลักษณะลำตัวที่ค่อนข้างยาว และแบนข้าง หัวจะสั้นมีความกว้าง ไม่มีเกล็ด มีนิสัยเชื่อง มีความอดทนสูงต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ออกไข่ครั้งละมากๆมีครีบหาง ครีบหลัง ครีบก้น ครีบอก ครีบท้อง และครีบหู พันธุ์สามัญนี้จัดว่าเป็น ต้นตระกูลของปลาทอง

- พันธุ์สิงห์ หรือ หัวสิงห์ ปลาทองพันธุ์นี้จะมี 2หาง ที่สำคัญไม่ม่ครีบหลัง หางสั้นและมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ดังนี้
  - สิงห์ญี่ปุ่น มีวุ้นอยู่ที่หัวหลังโค้ง ลำตัวกลมป้อม หน้าสั้น มีสีเข้ม
  - สิงห์จีน     มีวุ้นอยู่ที่หัวหลังโค้ง ลำตัวกลมป้อม หน้าสั้น มีสีเหลืองอ่อน
  - สิงห์หัวแดง ลักษณะลำตัวกลมป้อม วุ้นที่หัวมีสีแดง

- พันธุ์เกล็ดแก้ว มีลักษณะลำตัวป้อม คล้ายท้องกาง ทำให้เกล็ดนูนขึ้นมา ต่างจากเกล็ดธรรมดา เป็นปลาที่มีราคาแพง ส่วนหัวและหางคอดเรียว ครีบหลังโค้งสูงเด่นชัดตั้งตรง




ภาพนี้ คือ ปลาทอง พันธุ์สิงห์ญี่ปุ่น
(จากเว็บ http://pet.kapook.com/view21690.html)



การเลี้ยงปลาทอง

   ปลาทองนิยมจะเลี้ยงไว้ในตู้กระจก เพื่อดูความสวยงามของลำตัว ส่วนหลัง และครีบต่างๆ สำหรับพันธุ์ที่มีลักษณะพิเศษ เช่น มีวุ้น มีเขาแพะ มีลูกโป่ง มักจะนิยมเลี้ยงไว้เพื่อความสวยงาม บางคนเลี้ยงไว้ในบ่อ หรือ อ่าง ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับการเลี้ยงไว้เพาะพันธุ์ปลาทอง 

   อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาทอง คือ ลูกน้ำ ขนมปัง ข้าวสุก หรือ อาหารเม็ดที่ขายตามท้องตลาด การให้อาหารมากเกินไป จะส่งผลให้น้ำในบ่อปลาเน่าเสีย โดยปกติควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำ ปลาสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง จะช่วยให้สภาพน้ำดีขึ้น 
  


สัมภาษณ์เกี่ยวกับปลาทอง



สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา 3.0 ต้นฉบับ.





แหล่งข้อมูล 
     ธนากร ฤทธิ์ไธสง.     สายพันธุ์และการเลี้ยงปลาทอง.   พิมพ์ครั้งที่ 1.   กรุงเทพฯ : บริษัท ไทยสุวรรณอินเตอร์ 2000 จำกัด,พ.ศ. 2544

  อิทธิพล จันทร์เพ็ญ.   การเพาะเลี้ยงปลาสวยงามน้ำจืด.  พิมพ์ครั้งที่ 1.   กรุงเทพฯ : บริษัท ประชาชน จำกัด,พ.ศ.2531

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

งานครั้งที่ 7


Hello.




สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์

พันธุ์ปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยง : ปลาแฟนซีคาร์ป

ปลาแฟนซีคาร์ป

   ปลาแฟนซีคาร์ปเป็นปลาในกลุ่มของปลาตะเพียนมีชื่อแตกต่างกัน เช่น ปลาในสี ปลาในแฟนซี ปลาในทรงเครื่อง ปลาชนิดนี้มีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี และมีสีสันที่สวยงาม



ปลาแฟนซีคาร์ป 

(จากเว็บ http://www.bloggang.com/data/travelaround/picture/1202998290.jpg)



ลักษณะของปลาแฟนซีคาร์ป

  ปลาแฟนซีคาร์ปมีรูปร่างแบนค่อนข้างกลม มีครีบหลัง ครีบหาง ครีบท้อง ครีบหู ครีบอก ลำตัวเพรียวยาว ส่วนในทวีปยุโรปจะมีลำตัวที่กว้างกว่า ลักษณะสำคัญของปลาชนิดนี้ จะอยู่ที่เกล็ด ลักษณะของเกล็ดจะมีความแตกต่างกันออกไป



ปลาแฟนซีคาร์ป 

 (จากเว็บ http://student.nu.ac.th/bell/images/carp_fish_02.jpg)



การเพาะพันธุ์ปลาแฟนซีคาร์ป

    ก่อนการเพราะพันธุ์ปลาจำเป็นต้องทราบลักษณะเพศของปลา ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

ปลาเพศเมีย จะมีความกว้างของส่วนท้อง เพราะมีไข่อยู่ในท้อง เมื่อลองเอามือคลำจะรู้สึกนิ่มๆ หากจับปลาหงายท้องสังเกตช่องเพศ จะเห็นช่องเพศใหญ่และนูน ยื่นออกมาอาจมีไข่ไหล ฤดูผสมพันธุ์มีอยู่ตลอดทั้งปี

- ปลาเพศผู้ ความกว้างของส่วนท้องจะน้อยกว่าปลาเพศเมีย หากจับปลาหงายท้องสังเกตช่องเพศ พบว่ามีลักษณะที่เรียวเล็ก เว้าเข้าสู่ด้านใน อาจมีน้ำเชื้อสีขาวไหลออกมา



ปลาแฟนซีคาร์ป 

 (จากเว็บ http://koithai.wordpress.com/ )



การเลี้ยงและการดูแลปลาแฟนซีคาร์ป

   ปลาแฟนซีคาร์ปจะนิยมเลี้ยงในบ่อคอนกรีตที่มีน้ำไหล หรือ ใช้บ่อดินปูด้วยผ้าพลาสติก เพื่อจะสามารถเห็นสีสีนของปลาด้านหลัง และท่าทางในการว่ายน้ำได้ชัดเจน เรื่องอาหารควรให้อาหารปลาวันละ 1-2 ครั้ง เช้า หรือ เย็นเป็นเวลา




ปลาแฟนซีคาร์ป 

(จากเว็บ http://koithai.wordpress.com/)



     นอกจากนี้ควรหมั่นดูแลเอาใจใส่ปลาอย่างต่อเนื่อง เมื่อปลามีอาการที่แปลกไปจากเดิมโดยหาสาเหตุไม่ได้ ควรรีบปรึกษานักวิชาการประมง เพราะปลาแฟนซีคาร์ปมีราคาแพง



แหล่งข้อมูล 
     ธนากร ฤทธิ์ไธสง.       การเพาะเลี้ยงและการคัดสายพันธุ์. พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ : บริษัท ไทยสุวรรณอินเตอร์ 2000 จำกัด,พ.ศ. 2545

   อิทธิพล จันทร์เพ็ญ.    การเพาะเลี้ยงปลาสวยงามน้ำจืด.  พิมพ์ครั้งที่ 1.   กรุงเทพฯ : บริษัท ประชาชน จำกัด,พ.ศ.2531

                : http://koithai.wordpress.com/

พันธุ์ปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยง : ปลากัด


ปลากัด

   คงไม่มีใครไม่รู้จักปลา " นักสู้แห่งเมืองสยาม " ที่มีนิสัยหยิ่งผยอง สีสันสวยงาม ลำตัวเพรียว ได้สัดส่วน ร่าเริงแจ่มใส ถึงแม้ว่าจะมีตัวขนาดเล็ก แต่มีเลือดนักสู้อยู่เต็มตัวสมกับเป็นปลาพื้นเมืองของไทย ที่รู้จักมานาน




ปลากัด
(จากเว็บ http://neamkum.exteen.com/images/p6429131n1.jpg)   


ลักษณะนิสัยของปลากัด 

   ปลากัดเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด มีขนาดเล็ก มีสีที่สวยสด มีครีบหลัง ครีบอก ครีบท้องและครีบหาง อาศัยอยู่ตามบึง หนองน้ำ ชายทุ่งนา ในบริเวณที่มีน้ำเน่าเสียจากหญ้า ปลากัดมีนิสัยดุหวงถิ่นของตัวเอง


พันธุ์ปลากัด


                               
ปลากัด

   ปลากัดมีหลายชนิดที่นิยมเลี้ยง จะสามารถแบ่งเป็นประเภทได้ คือ


- พันธุ์ลูกหม้อ เป็นปลากัดที่มีขนาดใหญ่ลำตัวหนา ปากค่อน ข้างทู่ มีฟันคม ส่วนหัวจะโต สีสันสดใสส่วนมากจะมีสีน้ำเงิน ดำหรือเทาและแดง ปลาพันธุ์ลูกหม้อนิยมที่จะเลี้ยงไว้กัดกัน เพราะมีความทรหดอดทน


- พันธุ์ลูกทุ่ง ปลากัดพันธุ์นี้มีความว่องไวกว่าพันธุ์ลูกหม้อ ด้วยขนาดลำตัวที่เล็กกว่า ลำตัวยาว มีสีแดงและเขียว ความทรหดอดทนจะแพ้พันธุ์ลูกหม้อ


- พันธุ์ปลากัดจีน เป็นปลาที่ได้จากการเพาะเทียม โดยวาดรูปปลากัดตัวผู้ที่มีสีสันตามต้องการ นำไปปิดไว้ข้างภาชนะเพื่อให้ตัวเมียดู เมื่อได้เวลาไข่แก่ ก็นำปลาตัวผู้ที่มีลักษณะใกล้เคียงปล่อยลงผสมจะได้ลูกพันธุ์ที่มีลักษณะตามพ่อ-แม่จริงบ้าง หรือตามรูปที่วาดไว้




 ปลากัดสายพันธุ์จีน


การเลี้ยงปลากัด

   การเลี้ยงปลากัดนิยมที่จะเลี้ยงไว้ในขวดแก้ว ขวดโหล และอ่าง ใส่พันธุ์ไม้น้ำลงไปด้วย ปลากัดสามารถที่จะกินได้ ควรระวังอย่าให้น้ำเน่าเสียจากเศษอาหาร เพราะปลากัดไม่สามารถจะทนอยู่ได้ การถ่ายเปลี่ยนน้ำแทบไม่มีความจำเป็นเลย น้ำที่ใช้เลี้ยงปลากัดสีจะเข้มขึ้นทุกๆวัน ซึ่งก่อให้เกิดความสวยงามเพิ่มขึ้น



แหล่งข้อมูล                                                                                                                                                          อิทธิพล จันทร์เพ็ญ.    การเพาะเลี้ยงปลาสวยงามน้ำจืด.  พิมพ์ครั้งที่ 1.   กรุงเทพฯ : บริษัท ประชาชน จำกัด,พ.ศ.2531     

 :  http://www.fisheries.go.th/Dof_thai/knownledge/aquarium/fighting_fish/fighting_fish_index.htm